ดนตรีและนาฏศิลป์
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
หลักในการชมนาฏศิลป์
หลักในการชมนาฏศิลป์
๑. ควรศึกษาเกี่ยวกับท่ารำ "ท่ารำ" ของนาฏศิลป์ไทยจัดได้ว่าเป็น "ภาษา" ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจถึงกิริยา อาการ และความรู้สึก ตลอดจนอารมณ์ของผู้แสดง มีทั้งท่ารำตามธรรมชาติและท่าที่ประดิษฐ์ให้วิจิตรสวยงามกว่าธรรมชาติ
ผู้ชมที่ดีจะต้องเรียนรู้ความหมายและลีลาท่ารำต่างๆ ของนาฏศิลป์ไทย ให้เช้าใจเป็นพื้นฐานก่อน
ผู้ชมที่ดีจะต้องเรียนรู้ความหมายและลีลาท่ารำต่างๆ ของนาฏศิลป์ไทย ให้เช้าใจเป็นพื้นฐานก่อน
๒. เข้าใจเกี่ยวกับภาษาหรือคำร้องของเพลงต่างๆ การแสดงนาฏศิลป์จะต้องใช้ดนตรีและเพลงเข้าประกอบ ซึ่งอาจจะมีทั้งเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ในเรื่องเพลงร้องนั้นจะต้องมี "คำร้อง" หรือ เนื้อร้อง ประกอบด้วย บทร้องเพลงไทยส่วนมากจะเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ เป็นคำร้องที่แต่งขึ้นใช้กับเพลงนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือนำมาจากวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ ผู้ชมจะต้องฟังภาษาที่ใช้ร้อง ให้เข้าใจควบคู่กับการชมการแสดงด้วย จึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวนาฏศิลป์ที่แสดงอยู่
๓. มีความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีและเพลงต่างๆ นาฏศิลป์จำเป็นต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบขณะแสดง ซึ่งอาจจะเป็นแบบพื้นเมืองหรือแบบสมัยนิยม ผู้ชมจะต้องฟังเพลงให้เข้าใจทั้งลีลา ทำนอง สำเนียงของเพลง ตลอดจนจังหวะอารมณ์ด้วย จึงจะชมนาฏศิลป์ได้เข้าใจและได้รสของการแสดงอย่างสมบูรณ์ เช่น เข้าใจว่าเพลงสำเนียงมอญ พม่า ลาว ฯลฯ สามารถเข้าใจถึงประเพทของเพลงและอารมณ์ของเพลงแต่ละเพลง นอกจากนี้ จะต้องรู้จักถึงชื่อของเครื่อง ดนตรีและวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงทุกชนิดด้วย
๔. เข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายและแต่งหน้าของผู้แสดง การแสดงนั้นแบ่งออกหลายแบบ หลายประเภท ผู้ชมควรดูให้เข้าใจว่าการแต่งกายเหมาะสมกับบรรยากาศและประเภทของการแสดงหรือไม่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดง ตลอดทั้งการแต่งหน้าด้วยว่าเหมาะสมกลมกลืนกันเพียงใด เช่น เหมาะสมกับฐานะหรือบทของผู้แสดงหรือไม่
๕. เข้าใจถึงการออกแบบฉากและการใช้แสงและเสียง ผู้ชมที่ดีต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องฉาก สถานที่ และสถานการณ์ต่างๆ ของการแสดง คือต้องดูให้เข้าใจว่าเหมาะสมกับการแสดงหรือไม่ บรรยากาศ แสง หรือเสียงที่ใช้นั้นเหมาะสมกับลักษณะของการแสดงเพียงใด
๖. เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและฐานะของตัวแสดง คือ การแสดงที่เป็นเรื่องราว มีตัวแสดงหลายบท ซึ่งจะต้องแบ่งออกตามฐานะในเรื่องนั้นๆ เช่น พระเอก นางเอก ตัวเอก ตัวนายโรง พระรอง นางรอง ตัวตลก ฯลฯ
๗. เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของการแสดง ในกรณีที่เล่นเป็นเรื่องราว เช่น โขน ละคร ผู้ชมต้องติดตามการแสดงให้ต่อเนื่องกันถึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
๘. ควรมีอารมณ์ร่วมกับการแสดง การแสดงนาฏศิลป์ได้บรรจุเอาลีลาท่าทาง หรืออารมณ์ต่างๆ ของผู้แสดงไว้มากมาย ผู้ชมที่ดีควรมีส่วนร่วมกับผู้แสดงด้วย เช่น สนุกสนาน เฮฮาไปด้วย จะทำให้ได้รสของการแสดงอย่างเต็มที่ และผู้แสดงจะสนุกสนาน มีอารมณ์และกำลังใจในการแสดงด้วย
๙. ควรมีมารยาทในการชมการแสดง คือ ปรบมือให้เกียรติก่อนแสดงและหลังจาจบการแสดงแต่ละชุด ไม่ควรส่งเสียงโห่ร้องเป็นการล้อเลียน หรือเยาะเย้ย ในขณะที่การแสดงนั้นไม่ถูกใจหรืออาจจะผิดพลาด ตลก ขบขัน ซึ่งจะทำให้ผู้แสดงเสียกำลังใจ และถือว่าไม่มีมารยาทในการชมการแสดงอย่างมาก อีกทั้งเป็นการรบกวนสมาธิและอารมณ์ของผู้ชมคนอื่นๆ ด้วย
๑๐. ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย คือ ต้องให้เหมาะสมกับสถานที่ที่ใช้แสดง เช่นโรงละครแห่งชาติ หอประชุมขนาดใหญ่ ควรแต่งกายสุภาพแบบสากลนิยม แต่ในกรณีสถานที่สาธารณะหรืองานแบบสวนสนุก ก็อนุโลมแต่งกายตามสบายได้
๑๑. ควรศึกษาเกี่ยวกับสูจิบัตร ให้เข้าใจก่อนเริ่มชมการแสดง เพื่อจะได้ชมการแสดงได้เข้าใจตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้าไม่มีสูจิบัตร ก็ควรจะตั้งใจฟังพิธีการบรรยายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงให้เข้าใจด้วย
๑๒. ควรไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อม และได้ชมการแสดงตั้งแต่เริ่มต้น อีกทั้งจะได้ไม่เดินผ่านผู้อื่นซึ่งชมการแสดงอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้เกิดความวุ่นวายเป็นการทำลายสมาธิด้วย
ที่มา www.banramthai.com
การฟ้อน
การฟ้อน
ฟ้อน หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ จะใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก มีลีลาการฟ้อนพร้อมเพรียงกันด้วยจังหวะที่ค่อนข้างช้า การพิจารณาศิลปะการฟ้อนที่ปรากฏในลานนาปัจจุบัน อาจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล ได้แบ่งการฟ้อนออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๑. ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจาการนับถือผี เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและพิธีกรรม เป็นการฟ้อนเก่าแก่ที่มีมาช้านาน ได้แก่ ฟ้อนผีมด ผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง ฟ้อนผีนางดัง
๒. ฟ้อนแบบเมือง หมายถึง ศิลปะการฟ้อนที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็นแบบฉบับของ "คนเมือง" หรือ "ชาวไทยยวน" ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเจิง ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดไชย ฟ้อนสาวไหม
๓. ฟ้อนแบบม่าน เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการฟ้อนของพม่า กับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตา
๔. ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือแบบไทยใหญ่ หมายถึง การฟ้อนตลอดจนการแสดงที่รับอิทธิพล หรือมีต้นเค้ามาจากศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ ได้แก่ เล่นโต กิ่งกะหร่า(กินนรา) หรือฟ้อนนางนก กำเบ้อคง มองเซิง ฟ้อนไต(ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว
๕. ฟ้อนที่ปรากฏในบทละคร เป็นการฟ้อนที่มีผู้คิดสร้างสรรขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล
การรำ
การรำ
รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ เป็นการแสดงท่าทางลีลาของผู้รำ โดยใช้มือแขนเป็นหลัก
ประเภทของการรำ ได้แก่ การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำหมู่
๑. การรำเดี่ยว คือ การรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว จุดมุ่งหมายคือ
๑.๑ ต้องการอวดฝีมือในการรำ
๑.๒ ต้องการแสดงศิลปะร่ายรำ
๑.๓ ต้องการสลับฉากเพื่อรอการจัดฉาก หรือตัวละครแต่งกายยังไม่เสร็จเรียบร้อย
การรำเดี่ยว เช่น การรำฉุยฉายต่าง ๆ รำมโนราห์บูชายัญ รำพลายชุมพล ฯลฯ
๑.๑ ต้องการอวดฝีมือในการรำ
๑.๒ ต้องการแสดงศิลปะร่ายรำ
๑.๓ ต้องการสลับฉากเพื่อรอการจัดฉาก หรือตัวละครแต่งกายยังไม่เสร็จเรียบร้อย
การรำเดี่ยว เช่น การรำฉุยฉายต่าง ๆ รำมโนราห์บูชายัญ รำพลายชุมพล ฯลฯ
๒. การรำคู่ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ไม่มีบทร้อง และรำคู่ในชุดสวยงาม
๒.๑ การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ได้แก่ กระบี่ กระบอง ดาบสองมือ โล่ ดาบ เขน ดั้ง ทวน และรำกริช เป็นการรำไม่มีบทร้อง ใช้สลับฉากในการแสดง
๒.๒ การรำคู่ในชุดสวยงาม ท่ารำในการรำจะต้องประดิษฐ์ให้สวยงาม ทั้งท่ารำที่มีคำร้องตลอดชุด หรือมีบางช่วงเพื่ออวดลีลาท่ารำ มีบทร้องและใช้ท่าทางแสดงความหมายในตอนนั้น ๆ ได้แก่ หนุมานจับสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ รามสูร เมขลา รจนาเสี่ยงพวงมาลัย ทุษยันต์ตามกวาง รำแม่บท รำประเลง รำดอกไม้เงินทอง รถเสนจับม้า
๒.๑ การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ได้แก่ กระบี่ กระบอง ดาบสองมือ โล่ ดาบ เขน ดั้ง ทวน และรำกริช เป็นการรำไม่มีบทร้อง ใช้สลับฉากในการแสดง
๒.๒ การรำคู่ในชุดสวยงาม ท่ารำในการรำจะต้องประดิษฐ์ให้สวยงาม ทั้งท่ารำที่มีคำร้องตลอดชุด หรือมีบางช่วงเพื่ออวดลีลาท่ารำ มีบทร้องและใช้ท่าทางแสดงความหมายในตอนนั้น ๆ ได้แก่ หนุมานจับสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ รามสูร เมขลา รจนาเสี่ยงพวงมาลัย ทุษยันต์ตามกวาง รำแม่บท รำประเลง รำดอกไม้เงินทอง รถเสนจับม้า
๓. การรำหมู่ เป็นการแสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป ได้แก่ รำโคม ญวนรำกระถาง รำพัด รำวงมาตรฐาน และรำวงทั่วไป การแสดงพื้นเมืองของชาวบ้าน เช่น เต้นกำรำเคียว รำกลองยาว
ดนตรีไทย
ดนตรีไทย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่างๆ ของอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้านศาสนา ประเพณี ความเชื่อ ตลอดจนศิลปะแขนงต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี และยังถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติไทยอีกด้วย ลักษณะของเครื่องดนตรีไทยสามารถจำแนกเป็น 4 ประเภทคือ
เครื่องดีด
เครื่องดนตรีที่เล่นโดยการใช้นิ้วหรือดีดเพื่อให้เกิดเสียง
เครื่องสี
เครื่องดนตรีที่เล่นด้วยการใช้คันชักสีไปมาที่สาย
เครื่องตี
เครื่องดนตรีที่เล่นด้วยการใช้มือหรือไม้ตี
เครื่องเป่า
เครื่องดนตรีที่เล่นด้วยการใช้ปากเป่าให้เกิดเสียง
ประโยชน์ของการเรียนดนตรีไทย
- เพื่อรักษา อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมของชาติ
- เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ
- เพื่อให้มีความรู้ทางด้านดนตรีไทย
- เพื่อการแสดงออกเกี่ยวกับการสร้างสรรค์อย่างเสรี
- เพื่อให้มีทักษะในการเล่นเครื่องดนตรีจนมีชื่อเสียง
- เพื่อให้สามารถยึดเป็นอาชีพได้
- เพื่อฝึกความรับผิดชอบ
- เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการ ด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม
นาฎศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ด้วยความประณีต งดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น
นาฎ หมายถึง การเคลื่อนไหวอวัยวะ การฟ้อนรำ
หรือแบบแผนของการฟ้อนรำ
ศิลปะ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากธรรมชาติ
นำมาดัดแปลงทำให้เกิดความ ประณีตงดงาม
นาฏศิลป์ ความหมายโดยรวม คือศิลปะการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างประณีต อ่อนช้อย จนเกิดความงดงามวิจิตรบรรจง
ประโยชน์ของการเรียนนาฏศิลป์ไทย
- เพื่อรักษา อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมของชาติ
- เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ
- เพื่อให้มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์
- เพื่อการแสดงออกเกี่ยวกับการสร้างสรรค์อย่างเสรี
- เพื่อให้มีทักษะในการร้องรำทำเพลงจนมีชื่อเสียง
- เพื่อให้สามารถยึดเป็นอาชีพได้
- เพื่อให้ชื่นชมในการแสดงและดูนาฏศิลป์
- เพื่อฝึกความรับผิดชอบ
- เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการ ด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม
#CR http://www.bvg.co.th/web-b/wgweb/jar_thaimusic.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)